วันพฤหัสบดีที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2557

เรื่องความหมายคำศัพท์ Internet, Intranet, Domain Name, Host

ความหมายของอินเตอร์เน็ต

อินเตอร์เน็ต (Internet) นั้นย่อมาจากคำว่า “International network” หรือ “Inter Connection network” ซึ่งหมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้เกิดการสื่อสาร และการแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกัน โดยอาศัยตัวเชื่อมเครือข่ายภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงเดียวกัน นั่นก็คือ TCP/IP Protocol ซึ่งเป็นข้อกำหนดวิธีการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย ซึ่งโปรโตคอลนี้จะช่วยให้คอมพิวเตอร์ที่มีฮาร์ดแวร์ที่แตกต่างกันสามารถติดต่อถึงกันได้

การที่มีระบบอินเตอร์เน็ต ทำให้สามารถเคลื่อนย้ายข่าวสารข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ โดยไม่จำกัดระยะทาง ส่งข้อมูลได้หลายรูปแบบ ทั้งข้อความตัวหนังสือ ภาพ และ เสียง โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนับเป็นอภิระบบเครือข่ายที่ยิ่งใหญ่มาก มีเครื่องคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องทั่วโลกเชื่อมต่อกับระบบ ทำให้คนในโลกทุกชาติทุกภาษาสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ โดยไม่ต้องเดินทางไป โลกทั้งโลกเปรียบเสมือนเป็นบ้านหนึ่งที่ทุกคนในบ้านสามารถพูดคุยกันได้ตลอด 24 ชั่วโมง ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย แต่เกิดประโยชน์ต่อสังคมโลกปัจจุบันมาก


ความหมายของ Intranet
INTRANET
อินทราเน็ต (Intranet) คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงการสื่อสารด้วยระบบโปรโตคอลทีซีพี/ไอพี(TCP/IP) ซึ่งเป็นระบบโปรโตคอลในการสื่อสารของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet) ดังนั้น โปรแกรมเพื่อการสื่อสารบนเครือข่ายอินทราเน็ตจึงเป็นซอฟต์แวร์ชนิดเดียวกันกับที่ใช้ในการสื่อสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ส่วนความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างเครือข่ายอินทราเน็ตกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต คือ อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ครอบคลุมทั้งโลก อินเทอร์เน็ตไม่มีใครเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง และไม่มีใครสามารถควบคุมเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ แต่สำหรับเครือข่ายอินทราเน็ตมีเจ้าของแน่นอน และถูกควบคุมโดยองค์กรหรือบุคคลผู้เป็นเจ้าของ
อินทราเน็ตเกิดจากความคิดของระบบอินเทอร์เน็ตในการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์หลากหลายชนิดจากทุกมุมโลกเข้าด้วยกันได้ รวมทั้งการที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลจากที่ต่าง ๆ การมีบริการที่เป็นประโยชน์และความสามารถในการแสดงผลได้ตามต้องการแบบ 4ท (ที่เดียวทั่วโลก ทันที ทุกเวลา) นี้เอง ทำให้เกิดแนวคิดในการนำเทคโนโลยีของระบบดังกล่าวมาใช้งานในหน่วยงานหรือองค์กรซึ่งเมื่อย่อระบบอินเตอร์เน็ตลงมาในองค์กรก็เป็นระบบอินทราเน็ตนั่นเอง ดังนั้นอินทราเน็ตต้องมีทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
การประยุกต์ใช้อินทราเน็ตถือเป็นการปฎิรูประบบงานในองค์กรใหม่และก่อให้เกิดผลกระทบต่อกระบวนการและขั้นตอนการทำงานในปัจจุบันและอนาคต ในปัจจุบันได้มีผู้ให้คำจำกัดความของอินทราเน็ตไว้ต่าง ๆ ดังนี้
- อินทราเน็ตเป็นระบบเครือข่ายภายในที่เชื่อมโยงเครือข่ายย่อยต่าง ๆ เข้าด้วยกัน และให้ทุกคนในองค์กรใช้ร่วมกัน
- อินทราเน็ต เป็นรูปแบบของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ใช้ในองค์กร
- อินทราเน็ต เป็นคำที่สื่อความหมายถึงการนำเทคโนโลยีของระบบอินเทอร์เน็ตมาใช้ เพื่อตอบสนองระบบงานภายในองค์กรโดยเฉพาะ
- อินทราเน็ตเป็นระบบอินเทอร์เน็ตที่ใช้งานเฉพาะในองค์กร
- อินทราเน็ต เป็นการนำเทคโนโลยีของระบบอินเทอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้ ในองค์กรหรือหน่วยงาน
- อินทราเน็ต เป็นการรวมสารสนเทศที่มีอยู่ โดยวิธีการปรับปรุงให้เข้าถึงและกระจายข้อมูลผ่านไอพี เครือข่ายโดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวก ปรับปรุงวิธีการเข้าถึงสารสนเทศ การกระจายใช้สารสนเทศ และการบริหารสารสนเทศ
- อินทราเน็ต เป็นการนำเทคโนโลยีของระบบอินเทอร์เน็ต ที่ได้รับการยอมรับและเป็นมาตรฐานในการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ทั่วโลกเข้าด้วยกัน มาประยุกต์ใช้ในองค์กร หรือหน่วยงาน
จากนานาทัศนะดังกล่าวข้างต้น สามารถจำกัดความได้ว่าอินทราเน็ต เป็นระบบเครือข่ายภายใน
ที่นำเทคโนโลยีของระบบอินเทอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้งานภายในองค์กร โดยการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายย่อยต่าง ๆ เข้าด้วยกัน และนำมาใช้เพื่อตอบสนองระบบงานภายในองค์กรโดยเฉพาะและให้ทุกคนในองค์กรใช้ร่วมกัน อินทราเน็ตจึงถือว่าเป็น Corparate Portal หรือเว็บท่าองค์กร เป็นที่ที่ทุกคนต้องมาใช้เพื่อทำงานตามหน้าที่
ตัวอย่าง ระบบอินทราเน็ต (Intranet System)
E-Leave (ระบบบันทึกการลาอิเล็กทรอนิกส์), E-Knowledge (ระบบรวบรวมข้อมูลข่าวสาร), Events Calendar (ปฏิทินความเคลื่อนไหวของบริษัท), E-Services (ระบบงานร้องเรียนและบริการ), Stock Control (ระบบควบคุมการเบิกจ่ายสินค้า), E-Booking (ระบบบันทึกการจองห้อง จองรถ และอุปกรณ์), Gate Pass Control (ระบบควบคุมการนำสิ่งของออกนอกบริษัท), E-MR, E-PR (ระบบบันทึกปัญหาการทำงาน, ระบบขอสั่งซื้อ), Real Time Counter (ระบบแสดงยอดการผลิต ด้วยตาราง,กราฟ) และอื่นๆ ที่สามารถออกแบบและพัฒนาด้วย PHP + MySQL ที่เรากำลังพยายามรวบรวมข้อมูล เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดต่างๆ เพื่อให้คนไทยได้พัฒนาโปรแกรมต่างๆ ใช้งานเอง เพราะบางปัญหาถ้าเราแก้ไขตรงจุด ก็ไม่จำเป็นต้องลงทุนอะไรมากมาย ยังไงว่างๆ ก็ลองคลิกเข้าไปเยี่ยมชมนะครับ และต้องขออภัยหาก Update ข้อมูลช้าไป เนื่องจากเราต้องเจียดเวลาจากงานประจำมาได้แค่นี้


ชื่อโดเมน หรือ โดเมนเนม (domain name)

หมายถึง ชื่อที่ใช้ระบุลงในคอมพิวเตอร์ (เช่น เป็นส่วนหนึ่งของที่อยู่เว็บไซต์ หรืออีเมล์แอดเดรส) เพื่อไปค้นหาในระบบ โดเมนเนมซีสเทม เพื่อระบุถึง ไอพีแอดเดรส ของชื่อนั้นๆ เป็นชื่อที่ผู้จดทะเบียนระบุให้กับผู้ใช้เพื่อเข้ามายังเว็บไซต์ของตน บางครั้ง เราอาจจะใช้ "ที่อยู่เว็บไซต์" แทนก็ได้
โดเมนเนม หรือ ชื่อโดเมน เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ เนื่องจากไอพีแอดเดรสนั้นจดจำได้ยากกว่า และเมื่อการเปลี่ยนแปลงไอพีแอดเดรส ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับรู้หรือจดจำไอพีแอดเดรสใหม่ ยังคงใช้โดเมนเนมเดิมได้ต่อไป
อักขระที่จะใช้ในการตั้งชื่อโดเมนเนม ได้แก่ ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ตัวเลข และ "-" (ยัติภังค์) คั่นด้วย "." (มหัพภาค) โดยปกติ จะขึ้นต้นด้วยตัวอักษร และลงท้ายด้วยตัวอักษรหรือตัวเลข มีความยาวตั้งแต่ 1 ถึง 63 ตัวอักษร ตัวอักษรตัวใหญ่ A-Z หรือตัวอักษรตัวเล็ก ถือว่าเหมือนกัน

1 ไอพีแอดเดรส สามารถใช้โดเมนเนมได้มากกว่า 1 โดเมนเนม และหลายๆ โดเมนเนมอาจจะใช้ไอพีแอดเดรสเดียวกันได้

ตัวอย่างต่อไปนี้ แสดงถึงความแตกต่างระหว่าง ยูอาร์แอล (URL) โดเมนเนม และ ซับโดเมน
ยูอาร์แอล: http://www.example.com/
โดเมนเนม: example.com
ซับโดเมน : subdomain.example.com

โดยทั่วไป ไอพีแอดเดรสกับชื่อเซิร์ฟเวอร์มักจะแปลงกลับไปมาได้ 1 ไอพีแอดเดรสมักหมายถึง 1 ชื่อเซิร์ฟเวอร์ แต่ปัจจุบัน ความสนใจในเรื่องเว็บ ทำให้จำนวนเว็บไซต์มีมากกว่าเซิร์ฟเวอร์ โพรโทคอล HTTP จึงระบุว่าไคลเอนต์จะเป็นผู้บอกเซิร์ฟเวอร์ว่าชื่อใดที่ต้องการใช้ วิธีนี้ 1 เซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ 1 ไอพีแอดเดรสจะใช้โดเมนเนมได้หลายชื่อ

ยกตัวอย่าง เซิร์ฟเวอร์ที่มีไอพี 192.0.34.166 อาจจะใช้งานโดเมนเนมเหล่านี้ได้:

example1.com
example2.net
example3.org
เมื่อมีคำร้องขอ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับชื่อโฮสต์ก็จะถูกร้องขอเช่นกัน เพื่อส่งไปยังผู้ใช้

การจดทะเบียน Domain แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

การจดทะเบียน Domain ต่างประเทศ
การจดทะเบียน Domain ภายในประเทศ

การจดทะเบียน Domain ต่างประเทศ

.COM ใช้ทำเว็บไซต์ของบริษัท ห้างร้านโดยทั่วไป รวมทั้งเว็บไซต์ส่วนตัว และมีบางครั้งนำไปใช้ทำเว็บไซต์ (web site) ประเภทอื่นๆ ด้วย
.NET ใช้ทำเว็บไซต์เกี่ยวกับระบบเน็ตเวิร์ค (network) ของคอมพิวเตอร์ หรือเว็บไซต์บริการอินเทอร์เน็ต แต่บางครั้งก็นำไปใช้ด้านอื่นด้วย
.ORG ใช้ทำเว็บไซต์ของส่วนราชการ บางครั้งก็มีการจดทะเบียนนำไปใช้กับเว็บไซต์ประเภทอื่นด้วย

Host คืออะไร
Host ( Hosting, Web Hosting) คือ การเช่าพื้นที่เว็บไซต์ หากคุณต้องการมีเว็บไซต์ ก่อนอื่นคุณต้องจดโดเมนเนมก่อน จากนั้นคุณต้องจ้างให้คนทำเว็บให้ แล้วจึงเช่า Host เพื่อเก็บเว็บไซต์ คุณสามารถเช่า Host พร้อมจดโดเมนเนมได้ (โดเมนเนมคือชื่อเว็บไซต์เช่น www.jaideehosting.com เว็บไซต์ของ jaideehosting ) หากคุณเช่า Host และ จดโดเมนเนมที่เดียวกัน คุณก็สามารถใช้เว็บไซต์ได้ทันที

โฮสติ้ง หรือ เว็บโฮสติ้ง จึงเป็นพื้นที่การใช้งานในระบบอินเทอร์เน็ต สำหรับเว็บไซต์ทั่วไปแล้ว โฮสติ้งมีลักษณะที่เปรียบได้เหมือนกับ ฮาร์ดดิสก์ ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรานั่นเอง โดยรูปแบบการให้บริการ จะอนุญาตให้ผู้ใช้บริการสามารถนําเว็บเพจของตนเอง นําขึ้นไปออนไลน์บนอินเตอร์เน็ต ดังนั้นเราจะพบว่าทุกเว็บไซต์ที่ออนไลน์บนอินเตอร์เน็ต จะต้องได้รับการฝากหรือเก็บไว้บนคอมพิวเตอร์พิเศษที่เรียกว่า เว็บเซิร์ฟเวอร์ Web servers ซึ่ง เซิร์ฟเวอร์ นี้ จะทําหน้าที่เป็นตัวติดต่อซึ่งกันและกันและทุกหนทุกแห่งตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้เว็บไซต์ของเรา สามารถเข้าถึงได้จากทุกที่ทุกเวลาในโลกที่มีการต่อเชื่อม การเข้าชมเว็บไซต์บนอินเตอร์เน็ตง่ายๆ ก็คือการพิมพ์ชื่อเว็บไซต์ หรือชื่อโดเมน (Domain Name) ที่เรารู้จัก ยกตัวอย่างเช่น www.keepidea.net , www.evohosting.in.th โดยผู้ให้บริการได้ทําการติดตั้งระบบทั้งหมดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อมีบุคคลที่พิมพ์ชื่อเว็บไซต์ดังกล่าว ชื่อนั้นจะถูกส่งตามเส้นทาง จากเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังอีกเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งไปเรื่อยๆจนกระทั่งไปพบเครื่องเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่เว็บ



ไซต์นั้นได้ฝากเว็บไซต์ไว้ (Host computer) ภายในไม่กี่เสี้ยววินาทีก็จะสามารถเปิดเว็บดังกล่าวได้ ดังนั้นการที่จะนําเว็บไซต์ของเราออนไลน์บนอินเตอร์เน็ต สิ่งแรกที่จําเป็นจะต้องมี นั่นก็คือเว็บเซิร์ฟเวอร์นั่นเอง แต่ทว่าการติดตั้งระบบ เว็บเซิร์ฟเวอร์เป็น ของตนเองนั้น เราสามารถที่จะทําได้แต่เพราะว่ามีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงมากและที่สําคัญยิ่งไปกว่านั้น จําเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพราะเป็นเทคนิคชั้นสูง ต้องคอยดูแลตลอด 24 ชั่วโมง ดังนั้นด้วยเหตุจํากัดดังกล่าว บริษัทส่วนใหญ่จีงไม่สามารถดําเนินการลงทุนเพื่อเป็นเจ้าของเองได้ และนี่คือเป็นที่มาของบริการของเว็บโฮสติ้ง (Web Hosting หรือ Hosting, Host)

Host ความหมายหลายลักษณะซึ่งแตกต่างกันเล็กน้อย

1. บนอินเตอร์เน็ต คำว่า host หมายถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถเข้าถึงแบบสองทาง (two way access) อย่างเดิมที่ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นในอินเตอร์เน็ต host มีการเจาะจงด้วยหมายเลขของ local หรือ host พร้อมกับหมายเลขของเครือข่ายในรูปของ IP address แบบไม่ซ้ำ ถ้าใช้การติดต่อโปรโตคอลแบบ point-to-point ไปยังผู้ให้บริการ เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นจะมี IP address แบบไม่ซ้ำ ตลอดช่วงการติดต่อในครั้งนั้นกับอินเตอร์เน็ต ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องดังกล่าวมีฐานะเป็น host ในระยะเวลานั้น ดังนั้น host จึงเป็น node ในเครือข่าย

2. ใน IBM และระบบคอมพิวเตอร์แบบเมนเฟรม host คือเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรมทำให้ความหมายนี้คือ เครื่องเมนเฟรมมีเครื่องลูกข่ายที่ติดต่อและการใช้บริการจาก host

3. ในความหมายอื่น ๆ คำนี้โดยทั่วไปหมายถึงอุปกรณ์หรือโปรแกรม ที่เป็นผู้ให้บริการกับอุปกรณ์ หรือโปรแกรมที่มีความสามารถต่ำกว่า
สรุปแล้ว Host คือการให้บริการรับฝากเว็บไซต์ โดย ราคานั้นจะขึ้นอยู่กับพื้นที่ หากคุณใช้พื้นที่ทำเว็บไซต์น้อย คุณก็เช่า Host
โดยเลือกพื้นที่ Host ไม่ต้องมากนักเป็นต้น หากคุณใช้อีเมล์ คุณก็ต้องเลือก Host ที่มาพร้อมกับอีเมล์




แหล่งอ้างอิง:
http://www.kruyoon.com/index.php?option=com_content&view=article&id=9:2010-01-31-13-23-44&catid=1:2010-01-27-15-31-00

http://ptcpae.blogspot.com/2010/08/intranet.html

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%A1

http://www.com5dow.com/%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B9%8C-it/1125-host-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html

http://www.evohosting.in.th/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87-web-hosting/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น