วันพฤหัสบดีที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2557

เรื่องความหมายคำศัพท์ WAP, WIFI, ISP, HTML, GPRS, CDMA, Bluetooth

WAP หมายถึง
WAP หรือ Wireless Application Protocol เป็นสื่อการสื่อสารสากล โดยเป็นการร่วมมือกันร่วมกันวางข้อกำหนดระหว่าง บริษัทอีริคสัน โนเกีย โมโตโรลาและบริษัทอันไวร์แพลเน็ต และได้ร่วมจัดตั้งองค์กร ที่มีชื่อเรียกว่า WAP Forum ขึ้นในปี ค.ศ. 1997 และมีเป้าหมาย เพื่อพัฒนาแอพพิเคชั่น ให้สามารถทำงานผ่านการเชื่อมต่อเน็ตเวิร์กแบบไร้สาย

WAP เป็น Protocol ที่ถูกลดทอนมาจาก Protocol ของอินเตอร์เน็ต ทั้งนี้เพราะว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่มีข้อจำกัดหลายอย่าง เมื่อเทียบกับคอมพิวเตอร์โดยทั่วไป เช่น มีอัตราการส่งข้อมูลการส่งที่แคบ และจอแสดงผลที่มีขนาดเล็ก มีหน่วยความจำน้อย จึงต้องใช้ซีพียูที่มีความ สามารถน้อย และกินไฟที่ใช้จำกัดและการป้อนข้อมูล ก็จำกัดอยู่บนคีย์แพ็ด ของเครื่องโทรศัพท์เท่านั้น และเพื่อคิดค้นมาตรฐาน และข้อกำหนดของ ระบบการเชื่อมติดต่อแบบไร้สายให้เป็นมาตรฐานร่วมกัน

เทคโนโลยี WAP มีการใช้มาตรฐานทางการสื่อสาร ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยมีมากมายไม่ว่าจะเป็น XML โปรโตคอล UDP( User Datagram Protocol )และIP โปรโตคอลที่ ใช้งานหลายๆชนิด อยู่บนพื้นฐานของอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นโปรโตคอลแบบ HTTP ( Hypertext Transfer Protocol )และ TLS เพียงแต่ มีการดัดแปลง เพื่อให้เหมาะสมกับระบบการสื่อสารไร้สาย ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบการส่งข้อมูลต่ำ มีความเปลี่ยนแปลง และเสถียรภาพในการรักษาวงจรเชื่อมต่อต่ำ ทำให้เหมาะกับ การรับส่งข่าวสารที่อยู่ในรูปแบบของตัวอักษร

WAP ใช้เทคนิคการส่งข้อมูลแบบไบนารี ผสมผสานกับการบีบอัดและปรับรูปแบบของข้อมูล และยัง ถูกออกแบบให้สามารถนำไปใช้งาน กับสภาพการสื่อสารแบบ ไร้สายได้ทุกมาตรฐานภาษา ทั้งในส่วนของWML และ WML Script ( Wireless Markup Language ) โดยส่วนใหญ่ได้รับการออกแบบขึ้นสำหรับการใช้สร้างเนื้อหาข้อมูลแบบ WAP ข้อมูลที่ถูกสร้างขึ้นจะมีรูปแบบเฉพาะตัว เหมาะสำหรับการแสดงผลบนหน้าจอโทรศัพท์ ซึ่งมีขนากเล็ก ผู้พัฒนาเนื้อหาข้อมูลสามารถกำหนดการแสดงผลของข้อมูล ได้ตั้งแต่การแสดงผลแบบ 2 บรรทัด ไปจนถึงการแสดงผลแบบ กราฟฟิคเต็มรูปแบบ บนเครื่องโทรศัพท์รุ่นใหม่หรือ PDA

จุดเด่นของ WAP ประกอบด้วย

ไม่ต้องใช้วิธีการพิเศษเพื่อเข้าถึงข้อมูลและบริการ WAP แต่อย่างใด
ไม่ขึ้นกับระบบเครือข่าย WAP สามารถทำงานร่วมกับ เครือข่ายชั้นนำอย่าง CDPD , CDMA , GSM , PDC , PMS , TDMA , FLEX ,ReFLEX , IDEN , DECT , DataTAC , Mobitex และเครือข่าย อย่าง GPRS และ 3G ได้
โทรศัพท์มือถือกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ จากผู้ผลิตชั้นนำในปัจจุบัน สามารถใช้งานกับ WAP ได้
เบราเซอร์ WAP สามารถทำงานบนระบบปฏิบัติการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น PaimOS , EPOC , Windows CE , FLEXOS , OS/ 9 , JavaOS และอื่น ๆ


ความหมายของ Wi-FiความหมายของWI-FI ตั้งแต่อินเตอร์เน็ตมีการใช้งานกันอย่างมาก และนับวันอัตราการใช้อินเตอร์เน็ตก็ได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง เป็นแรงบันดาลใจทำให้ WI-FI เทคโนโลยีไร้สายได้ถูกพัฒนา ขึ้นมา

Wi-Fi ย่อมากจากคำว่า Wireless-Fidelity เป็นเทคโลยีเครือข่ายไร้สาย ภายใต้เทคโนโลยีการสื่อสาร มาตรฐาน IEEE 802.11 โดยเป็นมาตรฐานที่ถูกอนุมัติให้ ใช้จาก IEEE (The Institute of Electrical and Electronics Engineers) เพื่อให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารกันได้บนมาตรฐานการทำงานแบบเดียวกัน สำหรับเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายนี้จะใช้คลื่นความถี่ RF และคลื่นความถี่อินฟาเรตในการรับส่งข้อมูล คลื่นความถี่วิทยุของเครือข่ายไร้สายจึงสามารถทะลุทะลวงกำแพงหรือสิ่งกีดขวางได้ทำให้การใช้งานบนเครือข่ายไร้สายมีความคล่องตัวและสะดวกสบายมากขึ้น โดยสามารถเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายได้ทุกที่ที่มีคลื่นสัญญาณ ข้อมูลจะถูกรับส่งผ่านคลื่นวิทยุความถี่ 2.4 GHz ด้วยความเร็ว 11 Mbps ระยะห่างประมาณ 300 ฟุต


ความหมายของ ISPISP มาจากคำว่า Internet Service Provider ความหมายว่า ”ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต” ISP เป็นหน่วยงานที่บริการให้เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของบริษัท เข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั่วโลก
ในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ

1. หน่วยงานราชการหรือสถาบันการศึกษา ISP ที่เป็นหน่วยงานราชการ หรือสถาบันการศึกษา มักจะเป็นการให้บริการฟรีสำหรับสมาชิกขององค์การเท่านั้น

2. บริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ทั่วไป ISP ประเภทที่ให้บริการในเชิงพาณิชย์ ผู้ใช้ที่ต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตจะต้องสมัครเข้าเป็นสมาชิกของ ISP รายนั้นๆ ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการใช้งานอินเทอร์เน็ต ซึ่งอัตราค่าบริการจะขึ้นอยู่กับ ISP แต่ละราย



HTMLHTML ย่อมาจาก Hyper Text Markup Language เป็นเอกสารแบบไฮเปอร์เท็กซ์ ซึ่งมีความสามารถในการเชื่อมโยงข้อมูลไปยังเอกสารอื่นได้ เป็นเอกสารที่มีความสามารถสูงเหนือกว่าเอกสารทั่วไป เนื่องจากสามารถเปิดดูข้อมูลภายในได้ ส่วนความสามารถในด้านการเชื่อมโยงข้อมูลไปยังเอกสารอื่นๆ ทำได้โดยการใส่สัญลักษณ์พิเศษเข้าไปในเอกสาร หรือที่เรียกว่า คำสั่ง (Tag) โดยคำสั่งต่างๆ จะถูกอ่านและถูกกระทำตามคำสั่ง โดยโปรแกรมบราวเซอร์ (Browser) ต่างๆ เช่น Microsoft Internet Explorer, Netscape Navigator เป็นต้น
อ่านและ แปลตามคำ ได้ดังนี้
Hyper (ไฮเปอร์ ) มากมิติ
Text (เทคซฺทฺ) ข้อความ
Markup (มาร์ค’อัพ) ปริมาณ
Language ( แลง’เกว็จฺ) ภาษา
( แปลจากโปรแกรมแปล Dicthope ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ )
HTML เป็นภาษาที่ใช้ในการสร้างเว็บเพจ โดยใช้แท็กในการกำหนดโครงสร้าง และลักษณะของข้อความหรือรูปภาพ โครงสร้างของภาษา HTML ประกอบด้วยส่วนหัว
และส่วนเนื้อหาซึ่งผู้ใช้สามารถใช้คำสั่งต่าง ๆ กันไป การตกแต่งเว็บเพจอาจทำได้โดย การใส่สีพื้น สีตัวอักษร และกำหนดขนาดตัวอักษรการสร้างตาราง การสร้างแหล่งเชื่อมโยง การใช้ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวประกอบในเว็บเพจซึ่งจะทำให้เว็บเพจดูสวยงาม

โปรแกรมที่เราจะใช้ในการเขียน
1. Editor ในที่นี้เราจะใช Notepad ซึ่งเป็นโปรแกรม Editor ที่มีอยูใน Window อยูแล้วสามารถเรียกใช้ได้เลย
2. Browser เป็นโปรมแกรมที่ใชในการรันโปรแกรม HTML ซึ่งอาจจะเป็น Netscape Navigator, Netscape Communicator หรืออาจจะเป็น Internet Explorer ก็ได
เริ่มต้นเขียนโปรมแกรม HTML ง่ายๆ



ความหมายของ GPRS
GPRS (General Packet Radio Service) เป็นระบบที่ถูกพัฒนามาจากเครือข่ายระบบ GSM ซึ่งในระบบ GPRS นั้นในช่วงเจนเนอเรชั่นที่ 2.5G โดยที่มีความสามารถให้รับส่งข้อมูลได้ถึง172 kbps ขณะที่ระบบธรรมดาส่งได้ด้วยความเร็ว 9.6 Kbps ซึ่งความเร็วที่ 172 kbps สามารถเชื่อมต่อกับอินเตอรเน็ตได้อย่างง่ายๆ อีกทั้งยังมีความสามารถไม่ต่างกับการเชื่อมต่ออินเตอรเน็ตบนคอมพิวเตอร์ เช่น สามารถส่งข้อมูลที่เป็นตัวอักษร หรือรูปภาพกราฟิก Web Browsing E-Mail File Transfer Remote LAN Access เป็นต้น



ความหมายของ และ ความเป็นมา ของ CDMA
CDMA (Code Division Multiple Access) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้กับโทรศัทพ์เคลื่อนที่แบบหนึ่งซึ่ง ข้อมูลที่ส่งออกมาจากสถานีฐานจะประกอบด้วยข้อมูลของผู้ใช้หลายคน ในระบบ CDMA นี้ผู้ใช้แต่ละคนจะได้รับ code ชุดหนึ่งที่ไม่เหมือนกับ code ของผู้ใช้คนอื่น เมื่อใช้ code ดังกล่าวถอดรหัสสัญญาณจากสถานีฐาน ทำให้ผู้ใช้แต่ละคนได้รับข้อมูลในส่วนของตัวเองได้ CDMA เป็นเทคโนโลยีที่แก้ไขข้อจำกัดของการสื่อสารแบบไร้สายในปัจจุบันด้วยวิธีง่ายๆและมีประสิทธิภาพ โดยระบบCDMAจะแปลงเสียงเป็นรหัสเฉพาะในรูปของแพ็กเกจจากนั้นสัญญาณรหัสของการพูดทั้งหมดจะถูกจัดสรรให้กระจายไปยังช่วงกว้างๆ ของย่านความถี่สัญญาณรบกวนอื่นๆ นอกเหนือจากคำสนทนาจะถูกดึงออกที่ปลายทาง โดยรหัสที่ระบุไว้แล้ว เมื่อกลุ่มสัญญาณนี้เดินทางมาถึงเครื่องรับสัญญาณเสียงหรือข้อมูลที่ได้รับมานี้จะถูกนำมารวบรวมในรูปของคำสนทนาก่อนที่สัญญาณจะถูกส่งด้วยเทคนิคนี้จึงสามารถทำให้ระบบนี้สามารถรองรับจำนวนการโทรเข้าออกได้หลายๆ การสนทนาในเวลาเดียวกันภายในการส่งสัญญาณ ผ่านย่านคลื่นวิทยุเพียงหนึ่งคลื่น ผลก็คือระบบ CDMA จะสามารถรองรับปริมาณคู่สายได้จากการใช้ระบบCDMA
CDMA (Code Division Multiple Access) หรือ นิยมเรียกกันว่า IS-95 ซึ่งชื่ออย่างเป็นทางการคือ TIA/EIA-95B บริษัท Qualcomm จาก Sandi ago, California USA เป็นผู้พัฒนาระบบ CDMA โดยใช้ Spread Spectrum Technique Spread Spectrumไม่ได้ให้ช่องสัญญาณ หรือ แบ่งเป็น Timeslot เช่นระบบ TDMA แต่ CDMA ใช้วิธีให้ทุกคนใช้ความถี่เดียวกันพร้อมๆ กัน เช่นเดียวกับ สถานีวิทยุที่ออกอากาศ ในความถี่ เดียวกัน ในเวลาและสถานที่เดียวกัน
CDMA เป็นเทคโนโลยีเซลลูล่าร์ดิจิตอลที่ใช้เทคนิคสเปรดสเป็กตรัม ไม่เหมือนกับระบบอื่นๆ ที่เป็นคู่แข่งซึ่งใช้ TDMA เช่น GSM แต่ CDMA ไม่กำหนดความถี่เฉพาะสำหรับผู้ใช้แต่ละคน แต่ทุกช่องสัญญาณจะใช้สป็กตรัมที่มีทั้งหมดจนเต็ม
Code Division Multiple Access หรือ CDMA เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายด้วยระบบดิจิตอล ซึ่งได้รับการคิดค้นและพัฒนาโดยบริษัท ควอลคอมม์ ซึ่งระบบซีดีเอ็มเอ จะทำหน้าที่แปลงคำพูดเป็นข้อมูลแบบดิจิตอล และส่งผ่านข้อมูลในรูปของสัญญาณวิทยุไปบนเครือข่ายไร้ สาย
เนื่องจากระบบซีดีเอ็มเอ มีการใช้รหัสที่มีลักษณะเฉพาะในการระบุการโทรแต่ละครั้ง จึงสามารถรองรับผู้ใช้โทรศัพท์จำนวนมากในเวลาเดียวกัน โดยไม่เกิดปัญหาสัญญาณหลุด สัญญาณรบกวน หรือคลื่นแทรก
ระบบซีดีเอ็มเอเริ่มเปิดให้บริการในเชิงพาณิชย์ในปี ค.ศ.1995 และกลายเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วที่สุดของโลกปัจจุบันผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ชั้นนำต่างๆ หลายรายได้นำระบบซีดีเอ็มเอไปใช้ในการให้บริการสื่อสารด้วยเสียงและข้อมูลความเร็วสูงให้แก่ผู้ใช้โทรศัพท์มากกว่า 212.5 ล้านรายทั่วโลก
เทคโนโลยีซีดีเอ็มเอ ในช่วงที่เทคโนโลยีระบบการสื่อสารเคลื่อนที่ในยุคที่ 2 ได้รับการพัฒนาประสิทธิภาพให้ดีขึ้นกว่าเทคโนโลยีในยุคแรก นักวิทยาศาสตร์ได้เริ่มมองหาเทคโนโลยีในยุคแห่งอนาคต เพื่อพัฒนาระบบการสื่อสารให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ในขณะนั้นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายจะสามารถรองรับการสื่อสารด้วยเสียงเท่านั้น
อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีการสื่อสารในรูปของข้อมูลด้วยการส่งข้อมูลไปในอากาศผ่านระบบเครือข่ายก็มีแนวโน้มในการพัฒนาเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับตลาดผู้ใช้อินเตอร์เน็ตและผู้ให้บริการข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตซึ่งมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว
ในปี ค.ศ.1999 สมาพันธ์โทรคมนาคมระหว่างประเทศ (The International Telecommunication Union) ได้กำหนดมาตรฐานระบบการสื่อสารไร้สายในยุคที่ 3 ให้สามารถรับส่งข้อมูลความเร็วสูงพร้อมทั้งกำหนดคุณสมบัติใหม่ในด้านอื่นๆ โดยปรากฎว่า มีเทคโนโลยีซีดีเอ็มเอถึง 3 ระบบที่ได้รับการรับรองให้เป็นมาตรฐานการสื่อสารระดับ 3G และในปัจจุบันมีผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมชั้นนำมากกว่า 902 รายทั่วโลกได้ขอซื้อลิขสิทธิ์ซีดีเอ็มเอไปใช้ในการผลิตอุปกรณ์ที่เป็นมาตรฐาน 3G (Note 1. ที่มา :CDG.org 2. ที่มา :qualcomm.com )
CDMA2000 1x รองรับเสียงและข้อมูล เทคโนโลยี CDMA2000 1X สามารถรองรับการส่งสัญญาณทั้งในรูปของเสียงและข้อมูลผ่านช่องสัญญาณระบบซีดีเอ็มเอมาตรฐานขนาด 1.25MHz ซึ่งให้ประสิทธิภาพเหนือกว่าเทคโนโลยีอื่นๆ หลายประการ
ข้อที่ 1 ระบบซีดีเอ็มเอที่พัฒนาขึ้นใหม่มีประสิทธิภาพสูงกว่าระบบซีดีเอ็มเอในยุคแรกถึง 2 เท่า (รวมทั้งมีประสิทธิภาพเหนือชั้นกว่าระบบทีดีเอ็มเอ และจีเอสเอ็ม) ทั้งยังสามารถรองรับการให้บริการด้านเสียงที่มีปริมาณการใช้งานเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งให้บริการอินเตอร์เน็ตไร้สายในรูปแบบใหม่ๆ
ข้อที่ 2 ระบบ CDMA2000 1X สามารถรับส่งข้อมูลด้วยอัตราความเร็วโดยเฉลี่ยที่ 50-90 kbps (ซึ่งเร็วกว่าความเร็วโดยเฉลี่ยในการต่อสัญญาณโทรศัพท์) โดยมีอัตราการส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงสุดที่ 153 kbps โทรศัพท์ระบบ CDMA2000 1X ยังสามารถเปิดเครื่องรอรับสายได้นานกว่า เนื่องจากระบบ CDMA2000 1X ได้รับการพัฒนาบนพื้นฐานของเทคโนโลยีซีดีเอ็มเอในยุคแรก จึงทำให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถอัพเกรดระบบของตนได้อย่างง่ายดายและในราคาประหยัดสำหรับผู้ใช้โทรศัพท์มือถือสามารถใช้เครื่องเดิมของตนติดต่อผ่านโครงข่ายที่ได้รับการอัพเกรดใหม่โดยไม่ต้องเปลี่ยนเครื่องแต่อย่างใด
CDMA2000 1xEV-DO ส่งข้อมูลความเร็วสูงอย่างมีประสิทธิภาพ การบริการส่งข้อมูลความเร็วสูงหรือต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการส่งข้อมูล ระบบ CDMA2000 1xEV-DO จะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถส่งข้อมูลได้มากกว่า 2 Mbps โดยมีค่าเฉลี่ยความเร็วมากกว่า 700 kbps เทียบเท่ากับการส่งสัญญาณด้วยสายแบบ DSL และมีความเร็วเพียงพอที่จะรองรับการใช้งานที่ต้องการประสิทธิภาพในการส่งข้อมูลความเร็วสูง อาทิ ภาพวิดีโอ และการดาวน์โหลดข้อมูลขนาดใหญ่
ทั้งนี้ การส่งข้อมูลด้วยระบบ CDMA2000 1xEV-DO นับเป็นเทคโนโลยีการส่งข้อมูลที่มีต้นทุนต่ำที่สุด เมื่อคิดเป็นต้นทุนต่อเมกะไบต์ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การใช้อินเตอร์เน็ตไร้สายเป็นที่แพร่หลายอย่างรวดเร็ว
อุปกรณ์ 1xEV-DO ยังมีการเชื่อมโยงข้อมูลแบบแพคเก็ท "always-on" ซึ่งช่วยให้การใช้ระบบไร้สายมีความสะดวกรวดเร็วและเกิดประโยชน์มากกว่าที่เคยเป็นมา เมื่อผนวกเทคโนโลยีระบบ 1X และ 1xEV-DO เข้าด้วยกัน (ในกรณีที่จำเป็น) CDMA2000 จึงเป็นโซลูชั่นสมบูรณ์แบบที่มีความยืดหยุ่นและสามารถขยายขีดความสามารถให้มีสมรรถนะสูงสุด อีกทั้งมีค่าเฉลี่ยความเร็วในการส่งสัญญาณทั้งข้อมูลและเสียงที่มีความเร็วสูงและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


Bluetooth: ความหมาย และการทำงานของ BluetoothBluetooth คืออะไร
บลูทูธ (Bluetooth) คือ ระบบการสื่อสารของอุปกรณ์อิเล็กโทนิคแบบสองทาง ที่ใช้เทคนิคการส่งคลื่นวิทยุระยะสั้น (Short-Range Radio Links) เป็น สื่อกลางในการติดต่อสื่อสาร ระหว่างอุปกรณ์ต่างชนิดกัน โดยปราศจากการใช้สายเคเบิ้ล หรือ สายสัญญาณเชื่อมต่อ และไม่จำเป็นต้องใช้การเดินทางแบบเส้นตรงเหมือนกับอินฟราเรด ซึ้งถือว่าเพิ่มความสะดวกมากกว่าการเชื่อมต่อแบบอินฟราเรด ที่เชื่อมต่อระหว่างโทรศัพท์มือถือ กับอุปกรณ์ ในโทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นก่อนๆ โดยปัจจุบัน ระบบ บลูทูธได้เข้ามาช่วยทำให้การส่งถ่ายข้อมูลที่เป็นภาพ เสียง สะดวกยิ่งขึ้น


Read more: Bluetooth: ความหมาย และการทำงานของ Bluetooth | Computer Today for Your Step by Step

ระบบการทำงานของ Bluetooth

Bluetooth จะใช้สัญญาณวิทยุความถี่สูง 2.4 GHz. แต่จะแยกย่อยออกไป ตามแต่ละประเทศ อย่างในแถบยุโรปและอเมริกา จะใช้ช่วง 2.400 ถึง 2.4835 GHz. แบ่งออกเป็น 79 ช่องสัญญาณ และจะใช้ช่องสัญญาณที่แบ่งนี้ เพื่อส่งข้อมูลสลับช่องไปมา 1,600 ครั้งต่อ 1 วินาที ส่วนที่ญี่ปุ่นจะใช้ความถี่ 2.402 ถึง 2.480 GHz. แบ่งออกเป็น 23 ช่อง ระยะทำการของ Bluetooth จะอยู่ที่ 5-10 เมตร โดยมีระบบป้องกันโดยใช้การป้อนรหัสก่อนการเชื่อมต่อ และ ป้องกันการดักสัญญาณระหว่างสื่อสาร โดยระบบจะสลับช่องสัญญาณไปมา จะมีความสามารถในการเลือกเปลี่ยนความถี่ที่ใช้ในการติดต่อเองอัตโนมัติ โดยที่ไม่จำเป็นต้องเรียงตามหมายเลขช่อง ทำให้การดักฟังหรือลักลอบขโมยข้อมูลทำได้ยากขึ้น


Read more: Bluetooth: ความหมาย และการทำงานของ Bluetooth | Computer Today for Your Step by Step



แหล่งอ้างอิง
www.geocities.com/tu153_wap
http://www.thaigoodview.com
http://www.dmsc.moph.go.th

http://fa55.blogspot.com/2013/02/wi-fi.html

http://www.yourdictionary.com/computer/isp

http://www.krusamut.com/?p=387

http://riverplusblog.com/2011/07/07/gprs-modemrouter/

http://www.vcharkarn.com/vblog/35120

http://com360.blogspot.com/2011/01/bluetooth-bluetooth.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น